เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยถึงเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งที่ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 8/2563 ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2545 ไม่สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

โดยหลักเกณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้การเกลี่ยอัตรากำลังจากโรงเรียนขนาดใหญ่ไปโรงสู่โรงเรียนขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายในระยะเวลา 5 -7 ปี ในการเกลี่ยอัตรากำลัง โดยใช้วิธีการบรรจุเข้าไปใหม่ หากมีตำแหน่งว่างและการเกลี่ยโดยการย้าย

ซึ่งจะทำให้โรงเรียนจะมีครูครบชั้น ทุกวิชาเอก การบรรจุ และการย้าย เป็นไปตามวิชาเอกที่โรงเรียนขาด พร้อมทั้งนำไปสู่การวางแผนอัตรากำลังในระยะ 10 ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการวางแผนการผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้การผลิตครูเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้ประมาณงานกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อทำแผนการผลิตร่วมกัน พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ก.ค.ศ. คุรุสภา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เสนอ รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม เพื่อร่วมกันวางแผนการใช้อัตรากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ และการผลิตครูต่อไปในอนาคต

อิชยา กัปปา / สรุป
สมประสงค์ ชาหารเวียง / ถ่ายภาพ

18 thoughts on “เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา

Add yours

  1. เป็นความคิดที่โรงเรียนขนาดเล็กต้องการมานานแล้ว เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กในปัจจุบัน ถูกกำหนดให้สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้น ป.6 จำนวน 8 ชั่นเรียนแต่มีครูสอน 3 คน ซึ่งถ้าพิจารณากันให้ดีที่ผ่านมาแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ คนออกนโยบายไม่เคยรับรู้ถึงปัญหา แก้ปัญหาไม่เคยตรงจุดแก้ที่ปลายเหตุเสมอ ถ้าจะคิดกันดีๆ ครู 3 คน 8 ห้องเรียน นโยบายให้ควบชั้น ไม่เกิดประโยชน์มีแต่เสีย นักเรียนแต่ละชั้น มีพัฒนาการมี่แตกต่างกัน แต่จะให้มาเรียนระดับเดียวกันผลลับคือความล้มเหลว การศึกษาล่าหลังตลอด ขอบคุณนฌยบาลจัดครูครบชั้นในครังนี้

    ถูกใจ

      1. ถ้าเราจะคิดสร้างคนโดยเฉพาะนักเรียนระดับประถมจากปฐมวัยอย่างน้อยครูต้องครบชั้นครับเพราะเดํกจะตัองปลูกฝังตั้งแต่เล็กจึงจะซึมซับอะไรต่อมิอะไรได้เรื่องคุณธรรม จริยธรรมจะฝังใจเด็กแต่อายุน้อยๆ การใช้เทคโนแก้ปัญหาก็ได้ความรู้แตั่ไม่ได้ความเป็นคนที่สมบูรณ์ได้ เด็กต้องมีวินัยก่อนจึงจะสร้างองค์ความรู้ต่างไปได้ อย่าเอาการศึกษามาอิงกับเศรษฐกิจเราต้องลงทุนแบบให้เปล่าเพื่อสร้างคน บางครั้งเราคิดแต่องค์ความรู้แต่จะไม่ได้ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ขอฝากแนวความคิดกับผู้บริหารการศึกษาไทย ญี่ปุ่นสร้างคนก่อนเราจึงตามเขาไม่ทันยังไม่สายเกินที่เราจะเริ่มครับ

        ถูกใจ

  2. ขอให้ต่อเนื่อง อย่าเปลี่ยนบ่อยเช่นที่ผ่านมา และต้องเน้นประเมินผลที่เกิดกับผู้เรียนไม่น้อยกว่า90% ครับท่าน

    ถูกใจ

  3. เห็นด้วยอย่างยิ่งในการปรับปรุงเกณฑ์อัตรากำลังครูและบุคลากรในสถานศึกษาในครั้งนี้ความเป็นจริงน่าจะทำนานแล้วเพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามเหตุผลที่อ้างและควรนำไปใช้ทันทีเพื่อที่จะพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้เร็วขึ้นไม่อืดอาดดังปัจจุบัน จากที่มีประสบการณ์มาก่อน ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
    1.สถานศึกษาทุกแห่งต้องมี ผู้อำนวยการ มันหมายถึง ผู้ที่จะนำพัฒนาการศึกษา ถ้าไม่มีก็จะเกิดการสูญเปล่าทางการศึกษา มีแต่ครูสอนไม่มีผู้กำกับก็หาคุณภาพยากครับ
    2.เมื่อเกลี่ยครูได้แล้วต้องเกลี่ยงานให้ด้วยครับ ขณะนี้ยังมีข้ออ้าง ในระดับมัธยมว่า 1ห้องต้องมีครู2คนตามเกณฑ์เดิม ทั้งๆที่ในห้องเรียนมัธยมบางแห่ง1ห้องมีนักเรียนแค่2คน ทำให้เกิดวิกฤตครูล้นห้องแต่งานสอนไม่เดิน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก หากสำรวจให้ดีจะมีแบบนี้เยอะมากทั่วประเทศ
    3.เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปริมาณงานของครูทั้งจำนวนเด็ก/ชั่วโมงสอน/วิชาที่สอน อื่นๆ ต้องปรับหลักสูตรการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอัตราการเกิด การเข้าเรียนในปัจจุบัน โครงสร้างจากหลักสูตรชั้นเรียน ป.1..ป.6..ม.1-6…เป็นช่วงชั้น จะดีกว่า เป็น Grade 1 (ชั้นป.1&ป.2)…ก็จะสอดคล้องกับปริมาณงานครู..ก็จะไม่ต้องอ้างว่า ป.3เรียนกับ.4ไม่ได้..ทำแค่นี้การปฏิรูปการศึกษาก็เดินหน้าแล้ว..ครับ..ความจริงมีอีกเยอะขอแค่นี้ก่อนครับ

    ถูกใจ

  4. รวมไปถึงภาคอาชีวศึกษาด้วยไหมคะ ครูอัตราจ้างเงินเดือน 8-9000 บาทเรียนจบป.ตรีครุศาสตร์เรียน 5 ปีผู้ปกครองต้องจ่ายให้ลูกๆขณะเรียนมากกว่าเงินเดือนที่เขาได้รับเสียอีก คุณครูจะมีกำลังใจสอนเด็กไหมคะ อย่างของกระทรวงสาธารณสุขเขาก็จะมีตำแหน่งพนักงานของรัฐ บ้างพนักงานกระทรวงบ้างเพื่อสร้างความมั่นคง สวัสดิการกับตนเองและครอบครัว ก.ศึกษาจะมีแบบนี้บ้างไหมคะ ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  5. แต่ละพื้นที่ แต่ละโรงเรียน ต้องเน้นการสอนให้มีประสิทธิภาพ เข้าใจเด็กๆให้มากว่าเขามีข้อผิดพลาดตรงไหนต้องแก้ที่จุดนั้นเป็นสำคัญ ปลูกฟังให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งเก่ง และเป็นคนดีของสังคม เพื่อเป็นกำลังของชาติในการที่จะพัฒนาประเทศชาติต่อไป

    ถูกใจ

  6. บุคลากรทางการศึกษาต้องมีความพร้อมในทุกๆด้าน ในการที่สอนเด็กในที่เป็นประโยชน์กับตัวเด็กเอง ต้องคอยสนับสนุนเด็กให้มีความรู้ความสามารถ ทั้งเป็นคนเก่งและดีของสังคม ส่วนผู้ปกครองของเด็กต้องให้ความเอาใจใส่อย่างสมำ่เสมอ ว่าตัวเด็กเขาผิดพลาดตรงไหน ต้องการอะไร เด็กมีพรสวรรค์ด้านไหน ก็ให้เด็กเดินทางที่เด็กเขาถนัด เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าและเจริญในภายภาคหน้า

    ถูกใจ

  7. นักเรียนระดัับอนุบาล1_ประถมศึกษาปีที่6ควรมีครูที่เป็นข้าราชการอย่างน้อยทุกชั้นเรียนเพราะอนุบาลเปรียบเสมิอนขาของคนเราถ้าไม่แข็งแรงขาก็ไม่สามารถบังคับให้ร่างกายยืนตรงได้และระดับประถมควรมีครูเพิ่มจาก ก.ค.ศ คือครูเอกพละจะได้ป้อนนักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬาได้ให้กับประเทศชาติ

    ถูกใจ

  8. จริงครับครับผมควรปรับลูกจ้าง พนักงานราชการ เข้าบรรจุให้รับราชการ เพื่อสร้างขวัญปละกำลังใจ…..บุคคลากรเหล่านี้มีประสบการณ์ ถ้าจะไปสอบบรรจุคงไม่ได้เพราะทุกวันต้องระบผิดชอบงาน รร. คงไม่มีเวลาอ่านหนังสือสอบครับ….เรียนท่านผู้มีอำนาจพิจารณาด้วยครับ…..

    ถูกใจ

  9. ปรับรายหัวปฐมวัยกับประถมด้วยครับ แบ่งเอาของมัธยม มาก็ได้ครับ มัธยม ควร 3000 พอ แบ่งให้ประถมเป็น 2500-3000 จะดีมากครับ มัธยมได้เยอะเกินและส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนใหญ่ มีความพร้อมอยู่แล้ว

    ถูกใจ

  10. แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เดี๋ยวโรงเรียนขนาดใหญ่ก็รับเด็กเพิ่ม จำนวนครูไม่เปลี่ยน แต่โรงเรียนขนาดกลางขนาดเล็ก จำนวนนักเรียนลด จำนวนครูก็ลดอีก ยังเป็นปัญหาเหมือนเดิม

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น

Website Built with WordPress.com.

Up ↑