‘คุณหญิงกัลยา’ โชว์ความคืบหน้าโรงเรียนต้นแบบ Unplugged Coding ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

ทำเนียบรัฐบาล 7 มีนาคม 2566 / ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอนิทรรศการ เรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวิทยาศาสตร์และ CODING โชว์ผลงานความสำเร็จจากการขับเคลื่อนนโยบาย CODING ให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า

การจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นความก้าวหน้า และความสำเร็จในการขับเคลื่อนการการจัดการเรียนการสอน CODING ของประเทศไทยในทุกระดับ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ข้อ 7 การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

เป็นการนำผลงานโรงเรียนต้นแบบจาก 2 โรงเรียน ที่ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จได้อย่างชัดเจนในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน ตั้งแต่กระบวนการคิด วางแผน และลงมือทำอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้เป็นทักษะชีวิต ได้แก่

  1. โรงเรียนร่วมจิตประสาท กิจกรรมตัวอย่างการเรียนรู้วิชา CODING ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล มุ่งเน้นการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อตอบสนองนโยบายของโรงเรียนเกี่ยวกับนักเรียน เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องมีอาชีพที่ถนัดอย่างน้อยหนึ่งอาชีพ และยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพหลักให้เกิดกับนักเรียนและชุมชน
  2. โรงเรียนชุมชนบ้านดอยช้าง เป็นโรงเรียนนำร่องของโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ที่มีความโดดเด่นในการดำเนินโครงการ ด้วยความยากลำบากของพื้นที่ เป็นที่สูงและเป็นดินลูกรัง จะปลูกอะไรก็ยาก เพราะฉะนั้นการใช้อัจฉริยะทางความคิด คิดวิเคราะห์แล้วใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยทำให้ได้ผลผลิตที่ดีจนเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วเพียง 6 เดือนเท่านั้น หลังจากเริ่มต้นโครงการในปี 2562

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: