มติ ครม. 26 พ.ค.2563 ที่เกี่ยวข้องกับ ศธ.

สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ เห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และแนวทางในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 5 ช่วงชั้น

เห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 8 คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ดังนี้                 

  1. รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม 
  2. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร
  3. นางสาวศุภธิดา พรหมพยัคฆ์
  4. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
  5. รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี
  6. นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง
  7. นางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน
  8. นายปกรณ์ นิลประพันธ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป              

เห็นชอบแนวทางในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวทางในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยต่อไป ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ

สาระสำคัญ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ดังนี้

1. การส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการเผยแพร่ความรู้และพัฒนาความเข้มแข็งด้านสิทธิมนุษยชน อันจะช่วยสร้างเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและดำเนินงานต่าง ๆ  ตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงาน โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจะเกิดขึ้นกับประชาชน สร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ  เสรีภาพ  ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายดังกล่าว กสม. ได้ดำนินการอย่างมีส่วนร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาใน กสม. ผู้แทนสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาและกระบวนการยุติธรรมจัดทำหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ที่มุ่งเน้นที่จะก่อให้เกิดสังคมแห่งความเสมอภาค  โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง สร้างโอกาสที่เป็นธรรม โดยไม่แบ่งแยก  และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ประกอบด้วย หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาพื้นฐาน  หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาในกระบวนการยุติธรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง  และหลักสูตรธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับรัฐวิสาหกิจ 

2. การส่งเสริมเผยแพร่ให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของแต่ละบุคคลที่ทัดเทียมกัน และการเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นซึ่งอาจแตกต่างกันในทางวัฒนธรรม ประเพณี  และศาสนา  โดยได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการซึ่งกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัดกว่า 30,000 แห่ง มีบุคลากรทางการศึกษากว่า 400,000 คน ทำหน้าที่สนับสนุนและให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กนักเรียนในประเทศกว่า 7,000,000 คน  ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางอย่างเป็นระบบในการสร้างเสริมสิทธิมนุษยชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่นตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

โดยคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา 5 ช่วงชั้น (ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

One thought on “มติ ครม. 26 พ.ค.2563 ที่เกี่ยวข้องกับ ศธ.

Add yours

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: