รมช.ศธ.”คุณหญิงกัลยา” เปิดศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนในพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล ใช้การเรียนรู้แนว STEAM และนิเทศติดตามเชิงประจักษ์

21 เมษายน 2565 – คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนในพื้นที่เกาะจังหวัดสตูล โดยใช้การเรียนรู้แนว STEAM และนิเทศติดตามเชิงประจักษ์ เพื่อให้เห็นสภาพจริงของการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในเครือข่ายภาคใต้ตอนบน และเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง โดยมีนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล, นายพรชัย อินทร์ฉาย รองผู้อำนวยการ สสวท., นายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา, ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน เข้าร่วม ณ โรงเรียนเกาะบ้านหลีเป๊ะ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสตูล

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้มาเห็นมิติใหม่ในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล นำเอาอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาเป็นเครื่องมือ สร้างการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็ใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการ “สกัด สร้าง และต่อยอดความรู้ ทักษะ ไปถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่” ทำให้ได้เห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นผู้จุดประกายการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วย STEAM Education* โดยมีสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ดำเนินการนิเทศ กำกับดูแลทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพของโรงเรียนพื้นที่เกาะทั้ง 11 แห่ง

  • STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
  • “STEAM” มุ่งเน้นเพิ่มศาสตร์การใช้ชีวิต (Art of life) ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา และช่วยเหลือผู้อื่นประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน

ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการในการจัดการศึกษานั้น ต้องอาศัยระยะเวลา ความต่อเนื่อง ความเข้าใจ หรือกระบวนทัศน์ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ในปัจจุบันนี้สังคมโลกของเราเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้วิถีการเรียนรู้ไม่เหมือนเดิม ภาวะ Social Disruption ทำให้ครูต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน นักเรียน ปรับตัวเพื่อเรียนรู้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แต่ยึดโยงกับแก่นของคุณภาพ

ซึ่งทุกวันนี้ห้องเรียนไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยม แต่ทุกที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ผู้คนที่นอกเหนือจากคุณครู ก็เป็นผู้ให้ความรู้ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ทักษะในการจะเข้าถึง ความรู้ ทักษะที่จะ “เรียนรู้” เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้วิถีใหม่เกิดคุณภาพ เกิดความยั่งยืน และกิจกรรมในวันนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีการ จัดการศึกษาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ การขับเคลื่อน และดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าวของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการพัฒนาคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพ ที่มีสมรรถนะทางด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปและระดับสูง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งระบบ โดยพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาครู สนับสนุน อุปกรณ์เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ ให้กับโรงเรียนในโครงการ เพื่อให้นักเรียนทุกพื้นที่ของประเทศไทย มีโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เน้นการปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน มีโอกาสใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่การทดลอง และห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์พลังสิบ ที่เน้นการพัฒนาทักษะ และเน้นการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

พร้อมทั้งให้นำการเรียนโค้ดดิ้ง (Coding) ผสมผสานไปด้วย คือ C – Creative Thinking, O – Organization, D-Digital Literacy, I – Innovation, N – Newness และ G – Growth Mindset ให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับก้าวสู่ศรวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล มีตรรกะ แก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน การคิดเชิงคณิตศาสตร์และการกล้าตัดสินใจ โดยเริ่มจากการเรียนแบบ Unplug Coding คือการเรียนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สามารถต่อยอดความคิดในการพัฒนานวัตกรรมต่อไป

นอกจากนั้น Coding ยังสามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกวัย (Coding for All, All for Coding) เป็นการพัฒนาการศึกษาให้ถึงตัวเด็กโดยตรง และลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งใช้ STI (Science Technology & Innovation) ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน STI หรือสติ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโลกในอนาคต เป็นผู้มีจิตสาธารณะและรู้จักการให้ โดยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กไทยไม่แพ้ชาติในโลก สามารถพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวหน้า ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศได้ และขณะเดียวกันต้องปลูกฝังให้เด็กมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม และประวัติศาสตร์ ตลอดจนใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ ให้นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาตนเอง อย่างมีความสุข เกิดสมรรถนะที่สำคัญในการใช้ความรู้เชื่อมโยงแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างคุณค่าให้กับตนเองและสังคมต่อไป

ในโอกาสนี้ ขอชื่นชมคณะทำงานทุกท่าน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบคุณชุมชน ที่ให้การสนับสนุน เป็นกำลังสำคัญให้โรงเรียน การขับเคลื่อนการพัฒนางานในทุกมิติ โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชน เป็นของชุมชน ชุมชนก็เป็นวงล้อมของโรงเรียนที่เกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน วันนี้ได้เห็นภาพความร่วมมือดังกล่าวแล้ว ต้องขอบคุณ ชื่นชม และขอให้ทุกภาคส่วนรักษาสัมพันธภาพที่ดีเช่นนี้ เพื่อเด็ก ๆ เพื่อลูกหลานชาวเลของเรา

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: