ปลัด ศธ.ปิดการประชุม “กระทรวงศึกษาธิการสัญจร จ.ราชบุรี” ย้ำความสำคัญการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ความสำเร็จ

(18 กันยายน 2565, จังหวัดราชบุรี / นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปิดการประชุมโครงการกระทรวงศึกษาธิการสัญจร จังหวัดราชบุรี และมอบเกียรติบัตรให้กับสถานศึกษา 15 แห่งที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรับฟังและซักถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรม “การถอดบทเรียน การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยนายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 3, ว่าที่ร้อยตรี สมชาย งามสุขสวัสดิ์ ศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี, นายโอภาส ต้นทอง ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี และนางพัฒนาพร ไทยไพบูลย์ รองศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี

ว่าที่ร้อยตรี สมชาย งามสุขสวัสดิ์ ศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี นำเสนอโครงการที่ขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายสำคัญของ ศธ. อาทิ

  • พาน้องกลับมาเรียน ซึ่งได้ขยายผลการรับรู้ให้กับทุกหน่วยงาน เพื่อบูรณาการการทำงาน มีการประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบมีเด็กตกหล่น 701 คน พบตัวแล้ว 567 คน ไม่พบตัว 59 คน กำลังติดตาม 75 คน ติดตามกลับมาเรียนได้ 284 คน
  • สถานศึกษาปลอดภัย จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU การบูรณาการระหว่างจังหวัดราชบุรีกับหน่วยงานการศึกษา และภาคีเครือข่ายในจังหวัดราชบุรี มีการลงพื้นที่แนะแนวโรงเรียนประชาสัมพันธ์ให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียนรับทราบและติดตั้งแอพพลิเคชัน MOE Safety Center ให้กับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
  • โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จัดอบรมให้ความรู้ เสริมสร้างวินัย และการวางแผนการใช้เงิน ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งมีการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับครูและบุคลากรที่เข้าขั้นวิกฤติ เป็นรายบุคคล
  • โครงการโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา 2 แห่ง คือ อนุบาลเมืองราชบุรี เป็นโรงเรียนคุณภาพนำร่อง และมีโรงเรียนเครือข่าย 5 โรงเรียน และโรงเรียนวัดโพธิ์บัลลังก์ มีโรงเรียนเครือข่าย 7 โรงเรียน และโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา มีโรงเรียนปากท่อพิทยาคมเป็นโรงเรียนคุณภาพ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดราชบุรี คือ การได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในเรื่องของงบประมาณ อัตรากำลังครู และการบริหารจัดการอย่างมีระบบ
  • โครงการ “ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม” มีครูและบุคลากรทางการศึกษาของจังหวัดราชบุรี เข้าร่วมโครงการจำนวน 9,044 คน นับว่าเป็นจังหวัดที่มีผู้เข้าเรียนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ

นายโอภาส ต้นทอง ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี นำเสนอว่า จังหวัดกาญจนบุรีมีความหลายในเรื่องของพื้นที่ที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศเมียนมาร์ การจัดการเรียนการสอนมีทั้งเด็กไทยและกลุ่มชาติพันธ์ุ เน้น 4 ด้านด้วยกัน อาทิ

  • การพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลัก และการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย สอดรับกับวิถีใหม่ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน รวมทั้งมีการจัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ในเรื่องของสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษาปลอดภัย เน้นความปลอดภัยของผู้เรียน โดยการสร้างสถานศึกษาปลอดภัย และบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • นโยบายด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม เน้นโครงการพาน้องกลับมาเรียน การค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษาและติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา, พัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย การดูแลเด็กปฐมวัย ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาการสมวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้ง/ในและนอกระบบการศึกษา, การศึกษาของคนพิการและผู้ด้อยโอกาส การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการจำ เป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา
  • นโยบายด้านความร่วมมือ ด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยโดยการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill), ทวิภาคีเขตพื้นที่ การจัดการศึกษาแบบทวิภาคี สู่คุณภาพมาตรฐานผ่านศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่
  • นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา ทุกระดับการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมและการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

นางพัฒนาพร ไทยไพบูลย์ รองศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี นำเสนอการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ทั้งนี้ สุพรรณบุรีมีสถานศึกษารวมทุกสังกัด 722 แห่ง ครูทุกสังกัด 9,759 คน นักเรียนนักศึกษาทุกสังกัด 133,367 คน การขับเคลื่อนนโยบายมีหลากหลายโครงการ อาทิ

  • พาน้องกลับมาเรียน มีเด็กตกหล่น 502 คน พบตัว 419 ไม่พบตัว 82 พบว่าสังกัดอาชีวศึกษาไม่พบตัวมีจำนวนสูงถึง 77 คน และติดตามให้เข้าสู่ระบบการศึกษา 289 คน ไม่เข้าสู่ระบบ 123 คน
  • โรงเรียนคุณภาพ มีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น หลักสูตรท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้ท้องถิ่น โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน
  • โครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ เริ่มดำเนินการเป็นปีแรก และสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ทั้งการจัดที่พัก การจัดครูดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด การให้อาชีพกับนักศึกษาซึ่งเน้นการเกษตร
  • Safety Center และการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ ศธ.กำหนด มีการจัดกิจกรรมการออมซึ่งครูและบุคลากรให้ความสนใจเป็นอันมาก
  • โครงการคุณธรรม คนดีศรีสุพรรณ กิจกรรม ”ครอบครัวคุณธรรม” คัดเลือกครอบครัวที่เด็กและครอบครัวเป็นคนดีเป็นที่ยอมรับของสถานศึกษาและชุมชน เพื่อรับรางวัล 3 ครอบครัว ทั้งนี้ ทุกโครงการยังได้มีการดำเนินการติดตามประเมินผล ขยายผลต่อไปอีกด้วย

โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวขอบคุณครู อาจารย์ ผู้บริหาร สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมและผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ทั้ง 3 วันที่ผ่านมา นับเป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียนสิ่งสำคัญ เราสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการ และการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในระบบย่อยและระบบใหญ่

วิมล มาเทียน, ณัฐพล สุกไทย / ข่าว
ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า, สมประสงค์ ชาหารเวียง / ภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: