ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20 ปี 2566 (20th IJSO)

13 มกราคม 2566 / ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 2 “การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2566” ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์พ้อยท์ สามย่าน กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า การจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (International Junior Science Olympaid : IJSO) มีกำหนดการจัดขึ้นในต้นเดือนธันวาคมของทุกปี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปี นับถึงวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีที่แข่งขัน เนื้อหาการแข่งขันวิชาประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ 3 สาขา ได้แก่ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ฉบับ ประกอบด้วย ข้อสอบแบบ multiple choice ข้อสอบภาคทฤษฎี และข้อสอบภาคปฏิบัติ

ซึ่งในปี 2566 ประเทศไทยได้ตอบรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสฉลอง 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกำหนดจัดการแข่งขัน วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2566 (20th International Junior Science Olympaid) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งนักเรียนและผู้ฝึกสอนรวม 550 คน จาก 55 ประเทศ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขัน 20th IJSO ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการเตรียมจัดการแข่งขัน 20th IJSO คือ เรื่องประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขัน อยากให้เริ่มดำเนินการอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษตั้งแต่เดือนนี้ทันที เพื่อให้สังคมได้ตระหนักว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีพของคนโดยทั่วไปมากกว่าปกติ หากสามารถทำให้คนเข้าใจได้ก็จะดีมาก เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้คนไทยได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ในด้านวิชาการจะนำพาให้เด็กไทยมีอนาคตมากน้อยอย่างไร รวมถึงระดับมาตรฐานคุณภาพของเด็กไทยอยู่จุดใดของโลก นับเป็นอีกทางหนึ่งที่จะประกาศให้สังคมไทยทราบว่าเรามีเด็กที่มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านนี้มากี่ปีแล้ว และคนเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง ขอให้ใช้โอกาสประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขันครั้งนี้ให้เกิดเป็นกระแสพูดถึงในวงกว้างอย่างทั่วถึงทุกวงการ

ปารัชญ์ ไชยเวช/สรุป
อธิชนม์ สลางสิงห์/ถ่ายภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: