ปลัด ศธ.ผลักดันกลไกการบริหารและการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2565

(8 กันยายน 2564) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปแนวทางการสร้างกลไกการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ ห้องประชุมณรงค์ บุญมี ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านระบบ Video Conference (Zoom) โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน พร้อมด้วยนายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมพิจารณากลไกดังกล่าว

นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) เป็นหลักในการขับเคลื่อนกลไกการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 11 กลไก ประกอบด้วย

  1. ออกแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลไปถึงกระบวนการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สอดรับกับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะอาชีพที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดงาน
  2. ออกแบบระบบการบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท แบบร่วมมือที่เชื่อมโยงกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งระดับยุทธศาสตร์ชาติ  ภารกิจ และพื้นที่ (ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง)
  3. กำหนดเจ้าภาพและหน่วยงานรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ (ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง)
  4. การออกแบบระดับและเทคนิคการมีส่วนร่วมการบริหารและการจัดการศึกษา ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งระดับยุทธศาสตร์ชาติ ภารกิจ และพื้นที่
  5. การนำกลไกมาออกแบบรูปแบบการบูรณาการการบริหารและการจัดการศึกษา ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งระดับยุทธศาสตร์ชาติ ภารกิจ และพื้นที่
  6. การแปลงเป็นชุดโครงการที่สำคัญและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านศึกษาและแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจและทุกพื้นที่ ภายใต้แนวคิดความเชื่อมโยงสู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้น และยึดหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship : XYZ)
  7. นำโครงการที่สำคัญตามแผนพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท มาออกแบบระบบงบประมาณ ระบบงานแบบบูรณาการ (ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ) สมรรถนะของบุคลากร กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ระบบดิจิทัล สถานที่ วัสดุ/อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญหรือกลไกการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  8. นำแผนพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ที่สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในจังหวัด มาออกแบบแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารการจัดการ ศึกษา การตรวจราชการ การนิเทศ การแนะแนว การวางระบบควบคุมภายใน การบริหารจัดการความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน การเฝ้าระวังภัยพิบัติและวิกฤติทางการศึกษา การติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทในระดับพื้นที่ : ภายใต้กลไกการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่
  9. จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของหน่วยงานและสถาน ศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในจังหวัด : ยึดหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship :XYZ) รองรับระบบรองรับระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ : eMENSCR (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform)
  10. นำตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของหน่วยงานและสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในจังหวัด มาออกแบบการรายงานผลภาวะวิกฤติทางการศึกษา รายงานผลการติดตามและประเมินเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทของประเทศในส่วนภูมิภาค เป็นห้อง Management Cockpit มีลักษณะเป็นห้องประชุมที่ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ (Decision Room หรือ War Room) เกี่ยวกับการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หรือพัฒนาการศึกษาของประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทัดเทียมนานาประเทศ
  11. นำผลดําเนินงานตามตัวชี้วัดร่วมของหน่วยงานและสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในจังหวัดไปเชื่อมโยงกับแรงจูงใจเพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะนำกลไกดังกล่าวเสนอปลัด ศธ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ และประสานส่วนราชการทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนราชการในระดับพื้นที่ ร่วมขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ภาพ/ข่าว : กพร.สป.ศธ.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: