ศธ.ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566​

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดกิจกรรมการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566​ ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (มอบหมายให้ปลัด ศธ.ลงนามแทน) และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ปลัด ศธ. “อรรถพล” ย้ำตัวชี้วัดต้องไม่เป็นเพียงตัวหนังสือบนกระดาษ ต้องสื่อสารไปสู่พื้นที่ทุกส่วนงาน ทุกระดับ ให้เข้าใจ และดำเนินงานเชื่อมโยงบูรณาการอย่างมีเอกภาพ

10 เมษายน 2566 / นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายจากนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีและลงนามในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมลงนาม พร้อมด้วยนายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. รักษาราชการแทนเลขาธิการ กศน. และผู้บริหารในสังกัด ร่วมพิธีลงนาม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

ปลัด ศธ. กล่าวว่า การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการปฏิบัติราชการแผ่นดินแล้ว ยังเป็นการสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการ ว่าสามารถดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายและทิศทางขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีความคุ้มค่า โดยมีประสิทธิภาพในเชิงภารกิจ และการใช้งบประมาณอย่างไร การปฏิบัติตามแผนงานสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร และยังช่วยให้สามารถค้นพบขีดสมรรถนะของบุคลากร และองค์กรที่จะนำมาปรับปรุง และต่อยอดให้การขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของชาติ

สำหรับในปี พ.ศ. 2566 เป้าหมายสำคัญของ ศธ. สำหรับตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานราชการของแต่ละส่วนราชการในสังกัด ประกอบด้วยตัวชี้วัด 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่ 1 ตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่แต่ละส่วนราชการรับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 7 ตัวชี้วัด
  • ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดที่ตอบสนองนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 7 ข้อ รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 ตัวชี้วัด โดยแต่ละส่วนราชการจะนำไปจัดทำเป็นคำรับรองตามลำดับขั้นของหน่วยงานต่อไป

“การจัดทำตัวชี้วัดในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เพื่อกำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของแต่ละส่วนราชการว่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล (มติคณะรัฐมนตรี) และของกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่ สามารถปฏิบัติงานเพื่อได้เกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพจริงอย่างไร ซึ่งตัวชี้วัดต้องไม่เป็นเพียงตัวหนังสือบนกระดาษ แต่ต้องมีการสื่อสารนำไปสู่พื้นที่ทุกส่วนงานทุกระดับ เพื่อให้เข้าใจ มีการดำเนินงานเชื่อมโยงบูรณาการอย่างมีเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ”

อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว
อธิชนม์ สลางสิงห์ / ภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: