‘สุทิน’ เปิดประชุมปฏิบัติการ จัดทำคู่มือการบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โรงเรียนเอกชน และ กศน.

นนทบุรี 19 มกราคม 2565 – ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ (ศปท.ศธ.) จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำคู่มือการบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาสังกัด สช. และสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ. รักษาราชการแทนหัวหน้า ศปท.ศธ. เป็นประธานเปิดการประชุม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดย สำนักงาน ป.ป.ช.

นายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ. กล่าวว่า จากการที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชน แปลงแนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี และรายงานผลการดำเนินงานตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแผนย่อย การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป้าหมาย ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต โดยมีตัวชี้วัด 3 ด้าน คือ 1) ร้อยละของเด็กและเยาวชนไทย มีพฤติกรรมที่ยึดมั่น ความซื่อสัตย์สุจริต 2) ร้อยละของประชาชน มีวัฒนธรรมค่านิยมสุจริต มีทัศนคติ และพฤติกรรมในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 3) ร้อยละของหน่วยงาน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

ประกอบกับแผนการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ศธ. ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ศธ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กำหนดให้มีการบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา เพื่อปลูกและปลุกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต การปลูกฝัง และหล่อหลอมวัฒนธรรม ในกลุ่มเด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย ทุกระดับ

ทั้งนี้ ศปท.ศธ. ในฐานะหน่วยงานหลักขับเคลื่อนในเรื่องนี้ จึงได้จัดการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจัดทำคู่มือการบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ของสำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช. ที่ได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น 9 ชุดวิชา ประกอบด้วย

  1. การคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
  2. ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  3. STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  4. พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
  5. การต้านทุจริตในสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน ทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption)
  6. การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางธรณี
  7. การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติน้ำและน้ำบาดาล
  8. การพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้
  9. การพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นางจิตฤดี ขวัญพุฒ รองหัวหน้า ศปท.ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม 2566 โดยมีคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 70 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์, ผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-18, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, ผู้เแทน สช. และสำนักงาน กศน. ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้นำเสนอผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสู่สถานศึกษา ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่พบ โดยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) รวมทั้งผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการ ภาคภูมิศาสตร์

การประชุมครั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่มจัดทำคู่มือฯ และนำเสนอสรุปผลการจัดทำคู่มือฯ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มบูรณาการหลักสูตรฯ ในสถานศึกษาสังกัด สช. และสำนักงาน กศน. โดยได้รับความอนุเคราะห์ตัวอย่างแนวทางการจัดทำคู่มือฯ ตลอดจนแบบกำกับติดตามผลการดำเนินงานจากสำนักงานศึกษาธิการภาคเหนือ และตัวอย่างการบูรณาการหลักสูตรฯ สู่สถานศึกษา จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่

ศปท.ศธ.
ข้อมูล, ภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: