“ตรีนุช” ขานรับ “บิ๊กตู่” ขยายผลการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

วันนี้ (27 ธ.ค.2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เปิดงานเสวนา “การปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” อำเภอเชียงของ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดย “แอนโทนี่” หรือ นายปิยชนม์ ภุมวิภาชน์ อายุ 17 ปี ได้นำเสนอเชียงรายโมเดล (เชียงรายเมืองสิ่งแวดล้อมโลก) ด้วยโมเดลการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งแอนโทนี่ได้พรีเซ็นต์อย่างฉะฉาน และที่ผ่านมาก็มีผลงานมากมาย เช่น เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้นำเสนอกิจกรรมของโรงเรียน และชุมชนให้แก่คณบดีและอาจารย์คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำจากงาน 5 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว และไทย ซึ่งองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) จัดมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ขณะที่มีอายุ 15 ปีได้เป็นผู้ร่วมคิดค้นเทคโนโลยี เครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วแปลงเป็นพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อแก้ไข PM 2.5 ส่งประกวดและเสนอขอการสนับสนุนจาก “อีลอน มัสก์” นักธุรกิจและประดิษฐ์ชื่อดังระดับโลก ซึ่งเปิดการประกวดจากผู้คิดค้นทั่วโลก, เข้าร่วมงานพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัยสู่การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยสร้างรายได้ให้ชุมชน และ เป็นตัวแทนเยาวชนไทย(ยุวทูต) ของ SEAMEO เป็นต้น

โดยแอนโทนี่ได้ขอบคุณนายกฯ ที่สนับสนุนกิจกรรมเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย และบอกด้วยว่าที่ตนได้พัฒนามาถึงขณะนี้ เพราะการปูพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน จากโรงเรียนบ้านสันกอง จ.เชียงราย ซึ่งนายกฯ ชื่นชม และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาวิธีการจัดการศึกษาและขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ

“การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอนที่โรงเรียนบ้านสันกอง นำมาใช้พัฒนานักเรียน ดำเนินงานภายใต้ โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาชุมชนย่างยั่งยืน ซึ่งสนับสนุนโดยองค์กร Asia-Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU) ประกอบด้วย 1. การศึกษาชุมชน 2. การศึกษาปัญหาเชิงลึก 3.การนำเสนอปัญหาต่อชุมชน 4. การศึกษาทางเลือกในการแก้ปัญหา 5. การวางแผนงาน/โครงการแก้ปัญหา 6. การลงมือปฎิบัติการแก้ปัญหาตามแผนงาน/โครงการ และ 7.ติดตามประเมินผล และ ชื่นชมความสำเร็จและแนวทางการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ซึ่งดิฉันจะนำมาขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆตามคำแนะนำของนายกฯ” นางสาวตรีนุช กล่าว

ทั้งนี้ เส้นทางการศึกษาของน้องแอนโทนี่ น่าสนใจมาก โดยแอนโทนี่ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เรียนที่โรงเรียนบ้านสันกอง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ป.6 จากนั้นก็สอบได้ทุนของรัฐบาลจีน ไปเรียนที่ประเทศจีน 1 ปี ก่อนจะกลับมาเรียนต่อที่โรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์เชียงราย และสอบเทียบ ม.6 GED จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา คะแนน IELTs Over All score 6.5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการบ่มเพาะทักษะกระบวนการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น ที่เชื่อมโยงกับบริบทของท้องถิ่นและโลก เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น”

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: