ผลการประชุมคณะกรรมการตรวจติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2564

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของ ศธ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นไปตามกรอบนโยบายของ ศธ. 12 ข้อ นโยบายเร่งด่วน (Quick Win) 7 ข้อ และ Big Rock ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ (Active Learning) การสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัยสอดรับกับวิถีใหม่ ค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษาและติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา เด็กปฐมวัยต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัยและได้รับโอกาสทางการศึกษาทุกคน ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New Skill) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กลไกการตรวจ ติดตาม ตรวจสอบและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้มีการประชุมรายงานผลการตรวจและติดตามประเมินผลทุก 3 เดือน และสรุปรอบ 1 ปี อีก 1 ครั้ง แต่หากมีเรื่องเร่งด่วนต้องรายงานให้ทราบได้ทันที โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เช่น รายงานผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ การประชุมผ่านระบบ Zoom เน้นเนื้อหาที่เป็นข้อเสนอสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา มากกว่าการนำเสนอปัญหา

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเสนอแนวทางการทำงานโดยกำหนดโครงสร้างในการตรวจ ติดตาม ตรวจสอบและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาเป็น 3 ระดับ คือ

  1. ระดับกระทรวง มีกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก และมีสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการตรวจราชการฯ
  2. ระดับส่วนราชการ ประกอบด้วย สป.-สพฐ.-สอศ. ทำหน้าที่นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
  3. ระดับพื้นที่ ประกอบด้วย ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา กศน. จังหวัด สช.จังหวัด

เพื่อให้การทำงานในส่วนกลางสอดรับกัน ได้มอบหมายให้กลุ่ม ป.ย.ป.ศธ. ทำหน้าที่เชื่อมสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักตรวจราชการของทุกหน่วยงาน ทำหน้าที่เชื่อมการทำงานของทุกหน่วยงาน โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปออกแบบโครงสร้างให้มีความชัดเจนอีกครั้ง

อิชยา กัปปา / สรุป
ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: