สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. …. และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ทั้งนี้ ศธ. เสนอว่า
- โดยที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม กำหนดมาตรการและกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคที่มีความซับซ้อนและสั่งสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งมาตรการและกลไกดังกล่าวมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ทั้งอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งผลให้อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาเพื่อให้คุณและโทษต่อบุคลากรด้านการศึกษา คุณภาพการปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติถูกลดทอนลง ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ และเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน รวมทั้งขัดต่อหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงและขาดการยอมรับซึ่งกันและกันในองค์กร
- ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคลด้านการศึกษาในเขตพื้นที่ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ศธ.จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. …. ขึ้น
- ศธ.ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา http://www.onec.go.th และ ศธ.ได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งได้เปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 (เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562) แล้ว
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ในประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็น | คำสั่งหัวหน้า คสช. | ร่างพระราชบัญญัตินี้ |
1. อำนาจหน้าที่ของ กศจ. ในเขตจังหวัด | · อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา | · อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา |
2. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด | · ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา | · ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งอยู่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด |
3. อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด | · รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา · ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร | · รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด · ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยอนุมัติของ อ.ก.ค.ศ. จังหวัด เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา |
4. อ.ก.ค.ศ. จังหวัด และ อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานคร | · ไม่มีการกำหนดในเรื่องนี้ | · ให้มี อ.ก.ค.ศ. จังหวัด และ อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานคร โดยประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด/ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 หรือเขตเดียวในจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ · กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. จังหวัด หรือ อ.ก.ค.ศ. กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่เคยกำหนดว่าเป็นอำนาจของ กศจ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา |
เห๋นด้วย และใหมีกลุ่มเลขานุการ กจศจ. จังหวัดอยู่ที่เขต 1
ถูกใจถูกใจ
ณ เวลาออกคำสั่งนี้ เมื่อ 3 เมษายน 2560 อ้างว่า เห็นถึงสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาค ทั้งในด้านโครงสร้างขององค์กร ด้านระบบบริหารจัดการ และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเดิมทีก็คือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา โอนอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเดิม ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด โดยจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด รวม 76 จังหวัดเพิ่มขึ้นมา จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาคเพิ่มขึ้นมาเป็น 18 ภาค เห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งจากข้ออ้างตามคำสั่งเดิมหากมีปัญหาจริง และการจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มจำนวนมากขนาดนี้ สามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาติได้จริง ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ….แต่เมื่อความเป็นจริง การจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มจำนวนมาก ตามคำสั่งนี้ ไม่ได้ช่วยยกระดับการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้ดีขึ้นแต่อย่างใด ทั้งยังซ้ำเติมให้ยิ่งเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สร้างภาระให้กับประชาชนผู้เสียภาษีเกินสมควร โดยตั้งหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่อย่างเดียวกันขึ้นมา ทั้งที่รู้หรือควรจะรู้ว่ามีส่วนราชการที่ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ทำให้เกิดความทับซ้อนกันในอำนาจหน้าที่่ ทำให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงไม่มีอำนาจบังคับบัญชา…. ตามเหตุที่ท่านอ้างเพื่อใช้ในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการกระทำการในการออกคำสั่งในครั้งนั้น ไม่สามารถทราบได้เช่นกันว่ากระทำไปเพื่ออะไร ? เพื่อใคร ? …แต่ที่รู้คือความผิดพลาด …และเมื่อรู้ว่าผิดพลาดแล้ว แทนที่จะไตร่ตรองว่าต้นเหตุของปัญหาเกิดจากสิ่งใด กลับแก้ปัญหาโดยการเพิ่มปัญหา …คำสั่งนี้ตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เมื่อจะโอนอำนาจดังกล่าวกลับคืนไปยังหน่วยงานเดิม …แล้วยังจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ? …แล้วจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีสำนักงานศึกษาธิการภาค ? …แล้วเมื่อท่านเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดไปทำภารกิจในบทบาทหน้าที่เดียวกันกับ สำนักงานศึกษาธิการภาค ท่านคิดว่าซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ? (กรณีเปรียบเทียบองค์การบริหารส่วนจังหวัด กับ องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล) งบประมาณของประเทศชาติจำเป็นต้องใช้ให้เกิดความคุ้มค่า โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติของโรคระบาด ยังมีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่ขาดแคลนงบประมาณ ยังมีสถานพยาบาลอีกหลายแห่งที่ขาดแคลนบุคลากร …เมื่อไม่มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้ง ตามคำสั่ง คสช.ที่19/2560 แล้ว จึงมีข้อสงสัย และขอถามว่า …ทำไมไม่แก้ไขโดยการยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ? แล้วทุกอย่างให้กลับคืนสู่สภาพเดิม …คนโอนกลับต้นสังกัดเดิม …หน่วยงานที่ซ้ำซ้อนยุบเลิก …รัฐได้งบประมาณมาใช้จ่ายในยามที่จำเป็น …ครูในส่วนภูมิภาคก็ไม่ต้องมีผู้บังคับบัญชา(ให้เป็นภาระ)เพิ่มขึ้น …
ถูกใจถูกใจ