ศธ.ร่วมสร้างจิตสำนึกบนท้องถนน “หยุดสูญเสีย หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” ครั้งที่ 10

21 พฤศจิกายน 2565, ห้องประชุมศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ / นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา ประธานเปิดกิจกรรม “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” ครั้งที่ 10 โดยมีนายธฤติ ประสานสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมกิจกรรม และมี ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวรายงาน

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีการแสดงร้องเพลงจากนักเรียนต่างสถาบันเพื่อสร้างจิตสำนึกในการใช้รถและถนนร่วมกัน กิจกรรมขบวนรถรณรงค์ บริเวณทางม้าลาย ถนนนครราชสีมา ด้านหน้าคุรุสภา เพื่อสร้างจิตสำนึกผู้ขับขี่ให้หยุดรถตรงทางม้าลาย พร้อมมอบหมวกนิรภัยและสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา และภาคีเครือข่าย ได้ยื่นข้อเสนอต่อผู้แทน ศธ. ในการป้องกันแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน ด้านคน รถ ถนนและบริเวณทางม้าลาย

นายสุรชัย กล่าวว่า “คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินฯ และภาคี ตระหนักว่าเด็กและเยาวชนคือพลังสร้างประเทศชาติ จึงมีข้อเสนอ 3 ด้าน ดังนี้ 1. เสนอให้ ศธ. กำหนดให้มีหลักสูตรการสอนความปลอดภัยทางถนนในสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับชั้นอย่างชัดเจน สนับสนุนวินัยจราจร สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของการใช้รถใช้ถนน และความรับผิดชอบร่วมกัน โดยเฉพาะทักษะการประเมินสถานการณ์เสี่ยง 2. การสร้างความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน ถอดบทเรียนจากกรณีที่นักเรียนต้องเสียชีวิตในรถ จากสาเหตุของการลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถ อยากให้สถานศึกษาดูแลเรื่องการจัดรถรับส่งให้มีมาตรฐาน ลดพฤติกรรมเสี่ยง และร่วมบริหาร พร้อมยกระดับการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนที่ปลอดภัย 3. เรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาและบริเวณโดยรอบ ถอดบทเรียนจากกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีนักเรียนนักศึกษาเสียชีวิตในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาเอง สร้างมาตรการถนนสถานศึกษาปลอดภัย เช่น ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนน ปรับปรุงทางม้าลายให้มีมาตรฐานความปลอดภัย และกำหนดความเร็วที่ 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดก็เป็นข้อเสนอหลักที่ยื่นต่อกระทรวงศึกษาธิการในวันนี้”

นายธฤติ กล่าวว่า “ในส่วนของ ศธ. ได้ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ซึ่งทุกส่วนต้องถือปฏิบัติและขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งด้านการป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจข้อมูลความเสี่ยงทั้งภายในและรอบพื้นที่สถานศึกษา การเตรียมความพร้อมที่จะสร้างความรับรู้และความเข้าใจกับครูและผู้ปกครอง ซึ่งได้เน้นย้ำไปยังสถานศึกษาและผู้ประกอบการร่วมในเรื่องรถรับส่งนักเรียน เพราะยังมีเหตุเกิดขึ้นเรื่อยมาเป็นเรื่องที่สะเทือนใจมาก รวมถึงปลูกฝังการถือปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัย ทั้งบนท้องถนนหรือการเป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่ง ศธ.ได้จัดหลักสูตรลงไปในการเรียนการสอนลูกเสือจราจร ให้มีทักษะในการดูแลและร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ศธ. ได้จัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยของกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Center) มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้สถานศึกษาและประชาชนเข้าไปใช้บริการหากมีเหตุที่ต้องแจ้งมายังส่วนกลาง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของอุบัติเหตุแต่ยังรวมถึงเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและเรื่องร้องเรียนด้วย สุดท้ายคือเรื่องของการกำกับติดตามในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากร และ MOE Safety Center ซึ่งการที่ได้ร่วมมือกับทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ จะเป็นพลังที่จะปลูกฝัง ส่งเสริม และร่วมดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างสูงสุด”

ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า “กิจกรรมในวันนี้นับเป็นครั้งที่ 10 ที่ได้รณรงค์กันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะอยากให้พื้นที่ทางข้ามทางม้าลายเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยทั้งคนข้ามและผู้ขับขี่ ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนน เพราะมีเด็กมากกว่า 10 ล้านคนที่อยู่ในโรงเรียนและสถานศึกษา และตอนนี้ทาง สสส. ได้มีการรวบรวมและพัฒนาข้อมูลที่ส่งเสริมความรอบรู้ความปลอดภัยทางถนน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน ฉะนั้นการสร้างการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะความปลอดภัยทางถนนจึงเป็นสิ่งสำคัญ”

พบพร ผดุงพล / ข่าว
อธิชนม์ สลางสิงห์ / ภาพ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: