กศน.เดินเครื่องเต็มสูบ พลิกโฉมพัฒนาหลักสูตรฯใหม่ สร้างมาตรฐานตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

6 กรกฎาคม 2565 / นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน. มอบหมายให้นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. เป็นประธานประชุมปฏิบัติการบรรณาธิการ (ร่าง) แนวทางการจัดทำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง และการบรรณาธิการแนวทางและหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายวิชาเลือกของสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักงาน กศน. โดยมีนายนรา เหล่าวิชยา ที่ปรึกษาด้านการจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริและบนพื้นที่สูง รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู และนักวิชาการศึกษา เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 4 – 8 ณ โรงแรมไอบิส สไตล์ รัชดา กรุงเทพฯ

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. กล่าวว่า การจัดทำ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้สถานศึกษาสามารถจัดทำและพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพราะหลักสูตรจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากที่เราได้มีการปรับปรุงและจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาขึ้น เพราะจะเป็นแนวทางให้สถานศึกษาในสังกัด นำมาใช้เป็นกรอบในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้มีมาตรฐานเดียวกัน และช่วยให้ผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ การพัฒนาแนวทางและหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายวิชาเลือกของสถานศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ก็นับเป็นเรื่องสำคัญของการจัดการศึกษา ที่สำนักงาน กศน.ต้องเดินหน้าปรับและพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในอนาคต ให้สอดรับกับเนื้อหาสาระ ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง เพราะหลักสูตรเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีรายละเอียดที่บ่งชี้ว่า ผู้เรียนควรฝึกฝนให้มีทักษะการเรียนรู้อะไร จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด รวมทั้งยังเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่มีความสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน

ดังนั้น หลักสูตรจึงเป็นเสมือนกับหางเสือที่จะคอยกำหนดทิศทางให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษา ให้มีมาตรฐานตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ ได้อย่างแท้จริง

นางเอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ ผอ.กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา กศน.ได้ดำเนินการสำรวจและพิจารณาตรวจสอบหลักสูตรรายวิชาเลือกของสถานศึกษาฯ และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ที่พัฒนาโดยสถานศึกษานั้น พบว่ามีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลักสูตรรายวิชาเลือกที่มีมากกว่า 27,000 รายวิชา แต่หลักสูตรส่วนใหญ่ไม่มีความสอดคล้อง ไม่เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนดไว้ และหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไม่เป็นไปในทิศทางและแนวทางเดียวกัน

จึงได้ให้ความสำคัญกับพัฒนาแนวทางการจัดทำหลักสูตรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการพัฒนาแนวทางและหลักเกณฑ์รายวิชาเลือกของสถานศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานและอาชีพ ที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบริบทของพื้นที่

ทั้งนี้ เมื่อจัดทำแนวทางและหลักเกณฑ์ของหลักสูตรแล้วเสร็จ สำนักงาน กศน.จะจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามแผนการพัฒนา โดยมุ่งหวังให้สถานศึกษา ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ แนวทางการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ไปพัฒนาหลักสูตรและวิธีการจัดการศึกษาที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและทันสมัยในทิศทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: