ครม.อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน

สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน พ.ศ. …. โดยจัดตั้ง “กองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน” สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การบริหารงานเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน โดยปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 และให้โอนบรรดากิจการของกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาที่สังกัดกระทรวงการคลัง (กค.) เป็น จัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อให้การบริหารงานเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกำหนดวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนให้ครอบคลุมอาหารนักเรียนนอกเหนือจากอาหารกลางวัน และให้รวมถึงโรงเรียนที่จัดการศึกษาภาคบังคับด้วย                     

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

  1. กำหนดนิยามคำว่า “กองทุน” “โรงเรียน” “นักเรียน” “อาหาร” “คณะกรรมการ” “ประธานกรรมการ” “ผู้บริหารกองทุน” และ “รัฐมนตรี”
  2. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า “ กองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน” โดยมีวัตถุประสงค์ (1) แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ การขาดแคลนอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการในโรงเรียน (2) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารสำหรับนักเรียนในโรงเรียน (3) ส่งเสริมผลผลิตโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน (4) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ (5) ส่งเสริมพัฒนาการดำเนินงานกองทุน (6) ประชาสัมพันธ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนและการดำเนินงานของกองทุน
  3. กำหนดให้เงินและทรัพย์สินของกองทุน ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
  4. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย (1) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานกรรมการ (2) ผู้แทน กค. ผู้แทนสำนักงบประมาณ (สงป.) ผู้แทน สพฐ. เป็นกรรมการ (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ กค. จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ และให้ผู้บริหารกองทุนเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้บริหารกองทุนแต่งตั้งเจ้าหน้าที่กองทุนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ไม่เกิน 2 คน
  5. กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่  (1) กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกองทุน (2) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตลอดจนกำหนดค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้บริหารกองทุนและพนักงานโดยความเห็นชอบของ กค. (3) พิจารณาอนุมัติแผนงบประมาณรายรับและรายจ่ายประจำปีและแผนการดำเนินงานของกองทุน (4) พิจารณาจัดสรรเงินช่วยเหลือหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่โรงเรียนตามระดับอายุของนักเรียนโดยคำนึงถึงเด็กเล็กและพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม ฯลฯ
  6. กำหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ ภาระผูกพัน พนักงาน และลูกจ้างของกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 ไปเป็นของกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียนตามพระราชบัญญัตินี้

2 thoughts on “ครม.อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน

Add yours

  1. เป็นโครงการที่ดีสําหรับเยาวชนวัยกําลังเจริญเติบโตครับ ผมอยากทราบว่า จะมีวิธีไหนที่จะควบคุมดูแลให้อาหารทุกมื้อถูกหลักอนามัย เด็กได้รับคุณค่าทางอาหารครบมากที่สุดทุกมื้อ และเงินที่ให้กับโรงเรียนไม่รั่วไหลไปเข้ากระเป๋า ผ.อ. หรือ ครูใหญ่.

    ถูกใจ

  2. นับเป็นความก้าวหน้า และ มีวิสัยทัศน์อย่างยิ่งที่ได้พัฒนา พรบ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันฯ เมื่อปี 2535 มาเป็น ร่างพรบ.ใหม่ฉบับนี้ครับ ในเนื้อหาที่จะมีการปรับปรุงแก้ไข ทั้งโดยฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ในอนาคตอันใกล้นี้
    (1)ผมหวังว่าจะมีการขยายจากการจัดหาอาหารกลางวัน มาเป็น ทั้งอาหารกลางวัน และ อาหารเช้าด้วย เพราะ ปัญหาเด็กในชนบท ที่ไม่มีโอกาสได้ทานอาหารเช้า หรือ ทานอาหารเช้าที่ไม่ได้สารอาหารที่เหมาะสม ยังมีอีกมากมาย (ข้อมูลกสศ. และ โรงเรียนแต่ละแห่งน่าจะระบุได้) โดยเฉพาะหากถูกเลี้ยงดูด้วยการให้เงินไปหาอาหารเช้ากินเอง…..เด็กบางคน นำไปซื้อขนมแทนอาหารเช้าที่เหมาะสม และ หลายครอบครัวที่ ไม่สามารถมีรายได้ที่เพียงพอจะจัดหาอาหารมื้อเช้าให้ลูกๆ ได้ วิธีการแบบกองทุน จะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยขจัดภาวะการขาดสารอาหารของเด็กได้อย่างดีครับ และ ควรหาวิธีการระดมการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจาก ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา และภาคเอกชนในพื้นที่ด้วย เพื่อความยั่งยืนของ โภชนาการของเด็กในวัยเรียนครับ
    (2) การจัดหาอาหาร ควรครอบคลุม นักเรียนทุกระดับ โดยเท่าเทียมกัน ทั้งปฐมวัย ประถม มัธยม ครับ
    ขอฬห้พรบ.ฉบับนี้ออกมาโดยเร็วครับ…ขอบคุณแทนลูกๆในโรงเรียนชนบททุกคครับ

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: