(6 พฤศจิกายน 2563) ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ย่างเข้าสู่ปีที่สอง ณ ห้องประชุมสันถวมิตร อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 24
นายจรูญ ชูลาภ รักษาการประธานกรรมการ สมศ. กล่าวว่า สมศ.เร่งดำเนินการตามนโยบายที่ได้รับจาก รมช. ศึกษาธิการ ไปแล้วค่อนข้างมาก ขณะนี้มีการตกลงแนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก การพัฒนาเครื่องมือ การพัฒนาศูนย์ การกำหนดแผนประเมินคุณภาพภายนอก รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด
โดยแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 จะยึดหลักการ ในการลดภาระและไม่ให้กระทบต่อการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ประเมินภายนอก และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วเรียบร้อย ปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ประเมินเพิ่มเติมในทุกระดับการศึกษา และเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ตลอดจนมีการชี้แจงหลักเกณฑ์และการประเมินคุณภาพแบบใหม่
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รองรับการประเมินคุณภาพภายนอก หรือที่เรียกว่า Mobile Application สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในขณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาของผู้ประเมินภายนอก และการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และการประเมินตนเองผ่านระบบออนไลน์
ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายนอก ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะแรก การประเมิน SAR ประเมินจากผลการวิเคราะห์ SAR ของสถานศึกษา ซึ่งส่งผ่านต้นสังกัดตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 พิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏใน SAR และเอกสารประกอบที่แนบมากับ SAR เท่านั้น โดยผลการประเมิน SAR มี 3 ระดับ คือ “ดี” “พอใช้” และ “ปรับปรุง”
- ระยะสอง การประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site Visit) เป็นไปตามความสมัครใจของสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษาได้รับผลการประเมิน SAR อย่างเป็นทางการจาก สมศ. แล้ว ถ้าต้องการให้ สมศ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาสามารถร้องขอให้ สมศ. เข้าไปตรวจเยี่ยมได้ โดยระบุตารางนัดหมาย และประเด็นการตรวจ ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจะใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่มีการสรุปผลด้วยวาจาที่สถานศึกษา เพื่อลดการสัมผัสตามหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ผลประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site visit) มี 5 ระดับ คือ “ดีเยี่ยม” “ดีมาก” “ดี” “พอใช้” และ “ปรับปรุง”
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวตอนหนึ่งว่า ขอให้ทุกฝ่ายดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ หวังว่าจะสามารถปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดีจนบรรลุเป้าหมาย พร้อมเน้นย้ำให้อบรม ส่งเสริมผู้ประเมินอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ที่ออกไปประเมินมีคุณภาพมากที่สุด
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ขอให้สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับสถานศึกษา ให้การประเมินเป็นไปอย่างกัลยาณมิตร อย่าให้ผู้ถูกประเมินรู้สึกว่าถูกจับผิด แต่ให้เป็นลักษณะของการแนะนำ ส่งเสริม ช่วยเหลือกันและกัน ทำให้สถานศึกษาอยากเชิญทีมประเมินไปตรวจเยี่ยมด้วยความเต็มใจ









ปารัชญ์ ไชยเวช/สรุป
อธิชนม์ สลางสิงห์/ถ่ายภาพ
คุณหญิง ดร.กัลยา เก่งจริงเพียงไม่นานท่านสามารถจับคุณธรรมและธรรมาภิบาลด้านการประเมินภายนอกได้ชัดเจน ต้องมีแนวคิดเช่นท่านแหละครับ ผู้ถูกประเมินจึงให้การยอมรับ ยังมี ผปม.ภายนอกหลายท่านที่มองสถานศึกษาในแง่ลบ ซึ่งความเป็นจริงท่านต้องทราบว่า เกณฑ์ทั้งหลายที่ออกมาล้วนมาจากกิจกรรมที่สถานศึกษาเคยปฏิบัติมาทั้งสิ้น นักวิชาการเพียงเอามาขัดเกลา สร้างวาทกรรมใหม่ๆ และเพิ่มวิธีการให้เกิดความเป็นระบบมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ถูกใจถูกใจ
การประเมินของ สมศ.ยี่สิบปีผ่านมา หลายท่าน/ส่วนใหญ่ มักเห็นว่าเป็นการเพิ่มงานให้ สถานศึกษา ความจริงคือ ผู้ประเมินต้องการทราบว่าในมาตรฐานการศึกษาทีเป็นหน้าที่ตรงไปของ รร.นั้น รร.ได้ปฏิบัติอย่างไร จริงหรือไม่ และสิ่งที่ปฏิบัตินั้นตอบสนองต่อมาตรฐานหรือนโยบายการศึกษาต้นสังกัด/กระทรวง? รร.บ่นว่าเพิ่มงานเนื่อวจาก 1) รร.มิได้ปฏิบัติจริงจึงขาดเอกสารข้อมูลจึงต้องมาจัดเตรียมภายหลัง 2) รร.และผู้ประเมินบางคนยังยึดติดกับเอกสารกระดาษ
ขอเสนอแนะ เหตุที่ สมศ.ไม่สามารถพัฒนาการศึกษาได้สาเหตุหนึ่งคือ เมื่อ สมศ.โดยผู้ประเมิน มีข้อเสนอแนะเพื่อให้ รร.ปรับ/พัฒนาในประเด็นต่างๆ แล้ว ส่วนนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของต้นสังกัด หากต้นสังกัดไม่สานต่อ..?? ข้อเสนอแนะของ สมศ.
สมศ.ปฏิบัติงานโดบขาดอำนาจบทบาทในการติดตามต่อเนื่อง “เหมือนขุนพลไร้กระบี่” มาตลอดระยะ 20 ปี จนปัจจุบัน สมศ.ควรธำรงอยู่ต่อไป เพื่อติดคามตรวจสอบมาตรฐานการศึกษา และควรเพื่มบทบาท/อำนาจ ให้ สมศ.
ถูกใจถูกใจ
สิ่งสำคัญต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าการประเมินไม่ใช่การสร้างงานใหม่ให้สถานศึกษาแต่เป็นการติดตามส่งเสริมการทำงานของาถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายได้มากขึ้นครับ
ถูกใจถูกใจ
สิ่งสำคัญต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าการประเมินไม่ใช่การสร้างงานใหม่ให้สถานศึกษาแต่เป็นการติดตามส่งเสริมการทำงานของาถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายได้มากขึ้นครับ
ถูกใจถูกใจ
ข้อเสนอแนะรร.ควรนำไปดำเนิการพราะได้เสนอแนะฝนที่ประชุมรับรผู้ร่วมกันอย่างเปิดเผยและต้นสังกัดควรติดตามกำกับจะดี
ถูกใจถูกใจ