มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ มีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) (ศูนย์สะเต็มศึกษาฯ) (SEAMEO STEM-ED) วงเงินรวมทั้งสิ้น 235.91 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
- ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาฯ ในประเทศไทย ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวนั้น ศธ. และสำนักงานเลขาธิการซีมีโอได้ลงนามในบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว
- ศูนย์สะเต็มศึกษาฯ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2568) และวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดังกล่าว ภายใต้วิสัยทัศน์ว่า “เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคด้านการวิจัยและการพัฒนาศักยภาพด้านสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมนโยบายและแนวปฏิบัติที่รองรับด้วยงานวิจัย”
พันธกิจ
- ส่งเสริมการใช้งานวิจัยเชิงนโยบายด้านสะเต็มศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านสะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของภูมิภาค
- พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้กำหนดนโยบายด้านสะเต็มศึกษา
- พัฒนาสื่อการเรียนรู้สะเต็มที่เหมาะกับบริบทของภูมิภาคด้วยการระดมทรัพยากรที่มีในเครือข่าย
- แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ และภาคเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสะเต็มศึกษา
กลยุทธ์กรอบแนวทางการดำเนินงาน
- การประเมินและวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (STEM Education Research and Evaluation) เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศและภูมิภาคด้านงานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา เพื่อให้ผู้นำทางการศึกษามีข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายที่มีฐานจากงานวิจัย ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ได้แก่
1.1 What Works เป็นโครงการที่ให้ความรู้แก่นักวิจัยในการรวบรวม สังเคราะห์ และพัฒนางานวิจัย เพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์ เวทีวิชาการ หรือเวทีนโยบายสาธารณะ
1.2 การประเมินผลโครงการ เป็นการประเมินและสรุปผลลัพธ์ของโครงการที่สำคัญ โดยใช้มาตรฐานงานวิจัยที่เป็นสากล - การพัฒนาสื่อและศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา (Resources and Capacity Building) เพื่อวิจัย พัฒนา และทดสอบสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่สู่สถาบันการศึกษาและโรงเรียน อีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในระดับผู้นำด้านนโยบาย ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ในด้านการเป็นผู้นำด้านการจัดการสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ได้แก่
2.1 STEM Learning Modules เป็นโครงการที่ประเมิน วิจัย และพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสะเต็มที่มีคุณภาพ
2.2 STEM Career Academies เป็นโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่โลกอาชีพ
2.3 STEM Professional Academy เป็นโครงการพัฒนาบุคลกรทางการศึกษาทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ - การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การสร้างพันธมิตร และการสื่อสาร (Advocacy, Partnership and Communication) เพื่อให้เกิดความตระหนักและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีฐานจากงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก เวทีวิชาการ หรือเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาในการยกระดับคุณภาพการจัดการสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยโครงการสำคัญ ได้แก่
3.1 Public – Private Partnership Networks : เป็นโครงการที่สร้างเครือข่ายภาคีรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยในการร่วมมือกันดำเนินโครงการ
3.2 Policy Advocacy Forum : เป็นโครงการที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวิจัยหรือบทเรียนจากการดำเนินโครงการเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผู้วางนโยบายด้านสะเต็มศึกษา
3.3 Communications and Dissemination : เป็นโครงการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลในเครือข่ายนักวิชาการผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านสะเต็มศึกษา
ทั้งนี้ จะใช้งบประมาณปี พ.ศ. 2564 – 2568 รวมทั้งสิ้น 235.91 ล้านบาท
เสนอแนะให้ปรับโครงสร้าง สายงานบริหารการศึกษา ควรกำกนดระยะเวลา ให้มีอาวุโส รอง ผอ. ผอ. รอง ผอ.เขต ผอ.เขต
อายุราชการ วุฒิการศึกษา ป โท เอก วัยวุฒิ แสดงถึงประสบการณ์ และความสามารถความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจุบันเน้นบรรจุด้วยการสอบทางวิชาการ เน้น IQ , ขาด EQ
ระดับรอง ผอ.รร. ไม่ควรสอบบรรจุ อาวุโส อายุ 40 ปี การศึกษา ป โท หรือ ป เอก สอบคัดเลือกระดับ ผอ.รร. อายุ 45 ปี วุฒิ ป โท หรือ ป เอก
ควรพิจารณาจากโครงสร้างด้านการบริหารองค์การเป็นหกลัก เด็กรุ่นใหม่ไฟแรงควรให้ทำงานด้านวิชาการ เรียนรู้จากรุ่นพี่ บุคลากรที่มีอายุ 50 ปี ยังจบ ป โท ควรเข้าโครงการพัฒนาบุคลากร ประเมินสมรรถณะความสามารถ หากไม่ผ่านเกณฑ์ควรเข้าสู่โครงการเออรี่ก่อนอายุเกษีนณ เพื่อรับบรรจุเด็กรุ่นใหม่ตามสาขาที่ขาดแคลเข้ามาแทนตำแหน่งว่าง
ด้านโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กไม่ควรใช้คำว่า ผอ.หรือผู้อำนวยการ ใช้คำว่า รอง ผอ.สถานศึกษา
อยากความเปลี่ยนแปลงแบบูรณาการความคิดทุกภาคส่วน เพื่อปฎิรูปโครงสร้างสถานศึกษาให้มีความเท่าเทียมกับหน่วยงานอื่นและเป็นสถานศึกษาของประชาชนทุคนครับ
**ด้วยความเคารพและยินดี่ยิ่งหากมีโอกาสเข้าร่วมการปฎิรูปสถานศึกษาจึงขอแสดงความคิดเห็นมา ณ โอกาสนี้ครับ***
ขอบพระคุณยิ่งครับ
ผศ.ดร.ธเนศพล อินทร์จันทร์
รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยพิษณุโลก 081 535 4795
Email; tanesphol2011@gmail.com
ถูกใจถูกใจ