ปลัด ศธ.”ดร.สุภัทร จำปาทอง” มอบนโยบายปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เน้นการทำงานคล่องตัว ตอบโจทย์ 4 นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา 7 ด้าน ชูสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด เป็นกำลังสำคัญผ่านแผนรายจังหวัด และสะท้อนการทำงานกลับมายังส่วนกลาง ให้สามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการของพื้นที่

(1 ตุลาคม 2563) นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานประชุมมอบนโยบาย ปีงบประมาณ 2564 แก่ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ และถ่ายทอดสดการประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) ไปยังสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด ทั่วประเทศ
ปลัด ศธ. กล่าวว่า แนวทางการทำงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564 เน้นการทำงานใน 4 เรื่องเร่งด่วนตามนโยบายของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ. ได้แก่
- การคัดคนเก่งเข้ามาเป็นครู
- การจัดทำคลังข้อสอบ
- Credit Bank ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- อาชีวะเพื่อความเป็นเลิศ
ทั้งนี้ สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565 ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้ 2) ปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3) ปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 4) ปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาครู 5) ปฏิรูปเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 6) การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา 7) ปฏิรูปการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล
More Info: Video แนวทางการทำงานของปลัด ศธ.
ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานให้ทำงานด้วยความคล่องตัว เพื่อตอบสนองภารกิจ วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของ รมว.ศธ./รมช.ศธ. ขณะเดียวกันการทำงานในเชิงพื้นที่ต้องอาศัยสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เป็นกำลังสำคัญในการวางแผนการจัดการศึกษาของประเทศผ่านแผนรายจังหวัด และต้องสะท้อนกลับมายังส่วนกลางได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ส่วนกลางสามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ














ปารัชญ์ ไชยเวช / สรุป
กิตติกร แซ่หมู่ / ถ่ายภาพ
ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / Video
ควรทำเขตพื้นที่ ต่าง ๆ ให้บริหารจัดการภายในจังหวัดเดียว. หรือจังหวัดจัดการตนเอง ของการศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด เพราะการมีหน่วยงาน กำกับติดตาม ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาในระดับพื้นที่ หลายหน่วยงานยิ่งทำให้มีนายหลายคน ไม่สามารถบูรณาการการทำงานในพื้นที่ให้มีเอกภาพ สิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่ควรมีศึกษาธิการภาคในระดับพื้นที่ ควรให้อยู่ในระดับกระทรวงแต่กำกับเป็cluster หรือ ภาค. โดยไม่ต้องมีสำนักงานให้เปลืองงบประมาณ
ถูกใจถูกใจ