(23 กันยายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้เน้นย้ำการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำแผนการวางอัตรากำลังตำแหน่งต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมกัน เนื่องจากวางแนวทางให้อาชีวศึกษาเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และผลักดันให้มีหลักสูตรที่น่าสนใจ มีสายวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของตลาด
ขณะที่การเตรียมบุคลากร อาจารย์ในสาขาต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ต้องนำตำแหน่งครูโอนย้ายมาจาก สพฐ. เพราะในอนาคตนักเรียนจากสายสามัญจะลดลง ดังนั้น 3 หน่วยงานดังกล่าวจึงต้องบูรณาการร่วมกันกับคุรุสภา สำนักงาน ก.ค.ศ. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมอัตรากำลังตามนโยบายที่กำลังจะเปลี่ยนไป
ทั้งนี้ ศธ.คาดหวังว่าจำนวนผู้เรียนสายอาชีวะจะมีจำนวนมากขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 จึงต้องทำการประชาสัมพันธ์สร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากมาเรียนสายอาชีพ แม้ขณะนี้ได้ทำมาพอสมควรแล้ว แต่จะทำได้ครบทุกพื้นที่หรือไม่นั้น คงต้องดูความเกี่ยวเนื่องกับงบประมาณด้วย
แต่ก็ยังคงเชื่อว่า ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนจะเห็นความสำคัญของสายอาชีวะ และมีความมั่นใจที่จะส่งลูกหลานเข้ามาเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น













ปารัชญ์ ไชยเวช/ สรุป
กิตติกร แซ่หมู่/ ถ่ายภาพ
มอบนโยบาย. ให้ผู้บริหารไม่สำเร็จแน่นอน. ผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่ง. ไม่มีศักยภาพบริหารขับเคลื่อนกับวิธีนี้เป็นการยัดเยียดบังคับเด็ก. เจอจุดตันเพราะไม่ถนัดหรือมาจากรร.ให้การศึกษาไม่เต็มที่. ถึงจุดเลือกจำใจต้องเข้าอาชีวะ ก็มีนักต่อนัก ใจไม่รักไม่ชอบยังไงๆจะให้จบแบบมีคุณภาพ. หวังสร้างชาติคงยากครับ. อย่ามอบผอ.หรือรองฯ. เลยครับ. เพราะผบ.บางคนไม่ไหวจริงๆ ที่จะขับเคลื่ออนต่อ. ต้องถามครูโดยตรงก่อนถึงจะปรับนโยบาย. ยกเว้นศธ.มีแผนรองรับจบมีงานทำมีผลตอบแทนจริงๆ. ภายใต้การทำสัญญา การันตรีว่าจะเอากำลังอาชีวะสร้างชาติแน่นอน. เท่าที่ดูทิศทางขยายสู่EEC หรือภูมิภาคโลก. ของประเทศไทยยังไม่มีจุดยืนหรือเอาไงเลย. อย่าเอาชีวิตเด็กมาทดลองดีกว่าครับ. ถึงเวลานั้นมาเค้าเอาเวลาคืนไม่ได้
ถูกใจถูกใจ
สนับสนุนการเรียนทวิภาคี และค่าตอบแทนครูผู้สอน
การเคลื่อนตำแหน่งทางวิชาการจากครูไปสู่ ผศ.
ถูกใจถูกใจ