(1 กันยายน 2563) นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในภูมิภาคสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัด ศธ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน องค์กรระหว่างประเทศและภาคเอกชน เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมนูโวซิตี้ กรุงเทพฯ
รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainability in ASEAN) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษา และใช้โอกาสในการเป็นประธานอาเซียนของไทยในการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมให้บรรลุตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมุ่งเน้นการดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่
- การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Awareness Raising on the 2030 Agenda for Sustainable Development)
- การส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Promotion of Education for the 2030 Agenda for Sustainable Development)
- การเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030
ดังนั้น ศธ.จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันระดมความคิดในการทำแผนปฏิบัติการและข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายภายใต้กรอบสาระสำคัญของปฏิญญาฯ ฉบับดังกล่าว เช่น การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง การศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพ การบูรณาการและเชื่อมโยงเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความร่วมมือเพื่อสานพลังขับเคลื่อน SDGs เป็นต้น









อิชยา กัปปา / สรุป
กิตติกร แซ่หมู่ / ภาพ
สต.สป. / ข้อมูล
1.การเตรียมบุตลากรครูจัดหลักสูตรครูแยกช่วงชั้น ปฐมวัยประถม มัธยม ให้เรียน 4ปี ปีที่5ให้ฝึกงานสอนหลักสูตรไทย 6เดือน และหลักสูตรเรียนร่วมฝึกประสบการณ์ระดับอา้ซี่ยนกรือสากลอีก 5 เดือน ฉะนั้น ใน4ปี กรมฝึกหัดครูต้องมีกลัดสูตรรองรับ
2.การเตรียมผู้บริหาร ต้องผ่านการสอบประเมินความรู้ทักษะการบริหารจัดการ และ เข้าอบรมหลักสูตรฝนประเทศ 2เดือน และหลักสูตรอาเซี่ยนหรือสากล 2เดือน โดยอาจทำข้อตกลงราวมมือระหว่างประเทศ
3.การตรวจสอบการปฏิบัติงาน ต้องมีระบบapplication บันทึกขัอมูลบริหารงานสามารถเข้าติดตาม24 ชม ปัจจุบัน
5.การประเมินแบบมีส่วนร่วม ผู้เรียน ผู้ปกครองมชุมชน กก แต่งตั้งโดยตรงจาก กระทรวง
6.ครู ผู้บริหาร ต้องได้รับการประเมินการทำงานจากนักเรียนอย่างน้อย 1 เดือน/ครั่ง ด้วยระบบออนไลน์application
7.ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก จัดทำเป็น บ้านพักข้าราชการครูและศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครู-ชุมชน
แนวทาง เด็กที่จะยุบโรงเรียน อาจให้สนับสนุน ค่ารถ ประกัน จัดสรรรถยนต์ให้โรงเรียนที่เด็กย้ายเข้า ซึ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน เด็กมีระเบียบตางเวลา
8.เด็กต้องมีคู่มือนักเรียนโดยใช้ Applicacion บันทึกข้อมูล บริการสถานศึกษา และ การเรียน ไว้ตลอดชีวิต
ขอบคุณครับ
ถูกใจถูกใจ