(14 สิงหาคม 2563) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น จ.ขอนแก่น
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอชื่นชมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น ที่ได้ดำเนินโครงการ อศ.กช. ซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และมีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เห็นได้จากทั้งวิทยาลัยและนักศึกษาได้รับรางวัลการันตีเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน ศธ. ให้ความสำคัญและพร้อมส่งเสริมการเรียนเกษตรให้มีความทันสมัย ยกระดับเกษตรกรไทยให้เป็น Smart Farmer เพื่อลดต้นทุนการทำการเกษตร เพิ่มผลผลิตรายได้ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมกับให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั่วประเทศจัดทัพสู่การเป็น Digital Smart Farming ซึ่งขณะนี้ได้มีการอบรมครูไปเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ที่มีการอบรมครูให้ทันสมัยสู่ Digital Smart Farming เป็นครั้งแรก
จากนี้ไปการอบรมการพัฒนาการศึกษาในทุกช่วงชั้น ต้องใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science Technology Innovation : STI) มาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอน การอบรม เริ่มตั้งแต่ Coding ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะให้คนไทยได้เรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพราะอยากเห็นคนไทยทันสมัย มีทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ อย่างมีเหตุมีผล ทักษะเหล่านี้เกิดจากการเล่นหรือการใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ทั้งนี้ สพฐ.ได้ร่วมมือกับ สสวท. จัดทำหลักสูตรสอนครูให้มีพื้นฐาน Coding เพื่อให้ไปถ่ายทอดสู่นักเรียนแล้วประมาณ 2 แสนคน
ที่สำคัญอยากจะฝากให้วิทยาลัยเกษตรฯ ทุกแห่ง ร่วมกับชุมชนจัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำของชุมชนตามแนวพระราชดำริ ต้องหาแนวทางให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี โดยต้องหาวิธีหาที่ให้น้ำอยู่ หาที่ให้น้ำไหล และวิธีการเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ซึ่งวิทยาลัยเกษตรฯ ต้องศึกษาเรียนรู้และลงมือทำพร้อมทั้งต้องเปิดสอนเรื่องจัดการน้ำของชุมชนตามแนวพระราชดำริ จนพัฒนาสามารถหลักสูตรสอนให้นักเรียนเป็นชลกรที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถต่อไป
สำหรับโครงการ อศ.กช. เดิมเป็นโครงการ “อาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท” สำหรับประชาชนวัยทำงาน ด้านอาชีพเกษตรกรรม โดยรับผู้ที่จบการศึกษากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาประดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ ประเภทวิชาเกษตรกรรม หลักสูตร 5 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสถานศึกษาจัดครูไปสอนที่แหล่งเรียนรู้ชุมชนและในฤดูกาลที่ว่าจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท” และเปลี่ยนหลักสูตรเป็นรับผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อประดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปี และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หลักสูตรอาชีพศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคนไทยจะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต










อิชยา กัปปา / สรุป
ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพ
ใส่ความเห็น