(10 สิงหาคม 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ค.ต.ป.ศ.) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ สรุปดังนี้
รับทราบรายงานผลการตรวจราชการฯ ของ ศธ.
ที่ประชุมรับทราบ การรายงานผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ศธ. ปีงบประมาณ 2563 ประกอบด้วย 5 นโยบาย ดังนี้
- นโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง โดยการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ทัศนะคติที่ถูกต้องโดยใช้กระบวนลูกเสือ และยุวกาชาด อาทิ การดำเนินโครงการต่างๆ ในระดับจังหวัดและสถานศึกษา, การดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เป็นต้น
- นโยบายการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
– การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในภูมิภาค
– การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
– การจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี ให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
– การส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ - นโยบายการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
– การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning
– การจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)
– การจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM Education)
– การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารและเพิ่มทักษะสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพ
– การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่ 3) อาทิ ภาษาจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น
– การส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น - นโยบายการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม
– การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้หรือสร้างอาชีพ
– การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาเด็กปฐมวัย
– การส่งเสริมเด็กปฐมวัย ด้านสุขภาวะ และโภชนาการ
– การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ - นโยบายการปรับสมดุลและการบริหารจัดการภาครัฐ จากการลงพื้นที่ตรวจราชการ โครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดย สพฐ.ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 8,224 แห่ง พบปัจจัยที่มีผลสำเร็จของสถานศึกษา คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ สามารถบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีครูครบทุกชั้นเรียน โดยใช้หลักคุณธรรม เมตตาธรรม รวมทั้งสถานศึกษามีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษา และมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการจัดการเรียนรู้
รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ของ ศธ.
ที่ประชุมรับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการ และ ผอ.สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล (สตผ.) เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- กำหนดนโยบาย เกณฑ์มาตรฐาน ระบบการติดตามตรวจสอบประเมินผล และแผนการตรวจราชการประจำปี แผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
- กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
- กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล และเสนอแนะการบริหารงบประมาณของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับรายงานผลการตรวจราชการ การรายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
- ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบ และการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการใดๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
- ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
รับทราบแนวทางการตรวจราชการ ปี 2563
ที่ประชุมรับทราบ แนวทางการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ระดับกระทรวง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- การตรวจราชการกรณีปกติ เป็นการตรวจติดตามแผนงาน/โครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล นโยบาย ศธ. แผนการศึกษาชาติ และแผนปฏิบัติราชการ ศธ. โดยผู้ตรวจราชการ ศธ. ตรวจราชการในภาพรวมของเขตตรวจราชการที่รับผิดชอบตามกรอบระยะเวลา การตรวจราชการ รอบที่ 1 (ตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563) รอบที่ 2(เมษายน 2563 – กันยายน 2563)
- การตรวจราชการแบบบูรณาการ เป็นการตรวจราชการแบบบูรณาการร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงอื่น ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล และผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวง ทำหน้าที่ประสานแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบระยะเวลาการตรวจราชการแบบบูรณาการ ตามกรอบระยะเวลา การตรวจราชการ
– รอบที่ 1 : Project and Progress Reviews (1เมษายน – 15 พฤษภาคม 2563)
-รอบที่ 2 : Monitoring/Evaluation (15 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2563) - การตรวจราชการกรณีพิเศษ เป็นการตรวจราชการนอกเหนือจากการตรวจราชการกรณีปกติ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการตรวจราชการประจำปี
– การสืบสวน สอบสวน ข้อเท็จจริง ปัญหาการร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษของประชาชนอันเกิดจากการดำเนินงานของหน่วยงาน/สถานศึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
– วาระแห่งชาติ ยาเสพติด อุบัติภัย อุทกภัย ภัยแล้งและเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นภัยและมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา/นักเรียน/นักศึกษา
– กรณีภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
รับทราบประเด็นการตรวจราชการแบบ Agenda Based
ที่ประชุมรับทราบ การตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda Based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของผู้ตรวจราชการ 12 คน ดังนี้
- นายประชาคม จันทชิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบประเด็นนโยบายการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี และประเด็นนโยบายศูนย์ประสานงาน การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในภูมิภาค
- นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา รับผิดชอบประเด็นนโยบายเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประเด็นนโยบายการจัดการศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็นนโยบายการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้หรือเพื่อการสร้างอาชีพ และประเด็นนโยบาย Big Data
- นายพีระ รัตนวิจิตร รับผิดชอบประเด็นนโบายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และประเด็นนโยบายการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)
- นายพีรศักดิ์ รัตนะ รับผิดชอบประเด็นนโยบายทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย
- นายศรีชัย พรประชาธรรม รับผิดชอบประเด็นนโยบายการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะพื้นฐานที่เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพและการมีงานทำ และประเด็นนโยบายการผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
- นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล รับผิดชอบประเด็นนโยบายการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- นางสาวประตินันท์ สดีวงศ์ รับผิดชอบประเด็นนโยบายการเรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning
- นายสุทิน แก้วพนา รับผิดชอบ โครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ และประเด็นนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
- นายวีระ แข็งกสิการ รับผิดชอบประเด็นนโยบายการจัดการเรียนรู้ด้วย STEM Education
- นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รับผิดชอบประเด็นนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ทัศนคติที่ถูกต้อง โดยใช้กระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
- ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รับผิดชอบประเด็นนโยบายการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร ประเด็นนโยบายโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ และประเด็นนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
- นายวรัท พฤกษาทวีกุล รับผิดชอบประเด็นนโยบายการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย และประเด็นนโยบายการส่งเสริมเด็กปฐมวัย สุขภาวะ และโภชนาการ
การประชุมครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม อาทิ นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการ สกศ., นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ., นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการ กอศ., ศาสตราจารย์สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการ กกอ. กระทรวงการอุดมศึกษาฯ, นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัด ศธ., นางสาวนันทา หงวนตัด ผอ.สมศ., นายทวีสิทธิ์ ใจห้าว ผอ.สตผ., พระครูวิมลปัญญาคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม, รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายธนู ขวัญเดช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษา, นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอาชีวศึกษา, นายอรรถการ ตฤษณารังสี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเอกชน, รองศาสตราจารย์ปรัชญนันท์ นิลสุข ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยและประเมินผล, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา, นางมาลี อุษณะอำไพพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ การเงิน และงบประมาณ ตลอดจนผู้ตรวจราชการ ผู้บริหาร บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ












อานนท์ วิชานนท์ / สรุป
กิตติกร แซ่หมู่ / ถ่ายภาพ
ใส่ความเห็น